Archive for มกราคม 2014

ตอนที่ 18 : PHP คืออะไร

 


   PHP คืออะไร .. PHP คือภาษาที่ผู้สร้างทำเพื่อให้ผู้เขียนเว็บไซต์ออกแบบระบบต่างๆให้กับเว็บไซต์เปรียบเสมือนกับ เตาแก๊ส หม้อหุงข้าว จาน ในบ้านของเราหรือพูดง่ายๆก็คือ การเขียน PHP เป็นการเพิ่ม Option ให้กับเว็บไซต์ของเรา เป็นการเขียนระบบต่างๆ เช่นการเรียกไฟล์ header มาแสดงไว้บนหน้า index โดยใช้คำสั่ง include วิธีการเขียนภาษา php นั้นก็ผมคิดว่าก็ยากอยู่นะ แต่ถ้าให้เวลากับมันผมรับรองว่าเขียนได้ เขียนเก่งทุกคนแน่นอนคับ 

ตอนที่ 17 : CSS คืออะไร


   CSS คืออะไร .. CSS คือการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ให้มีความสวยงามในรูปแบบต่างๆมากยิ่งขึ้น การเขียน css นั้นเปรียบเสมือนการนำสีทาบ้านมาทาทีผนังบ้าน จากหน้าเว็บสีปูน สีอิฐ หรือสีสังกะสี ก็จะมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ด้วยสีสันที่ผู้ออกแบบเว็บไซต์เป็นคนเขียน css ขึ้นมา
  ตอนนี้ css ได้มีการสร้างเป็น version 3 แล้ว เค้าเรียกว่า CSS3 เหมือนในรูปภาพ จะเป็นการเลียนแบบ Logo ของ html5 มาทำเป็น CSS3 แทน  ถึงตอนนี้หลายคนคงจะเข้าใจเกี่ยวกับการเขียน css เพื่อตกแต่งเว็บไซต์หรือบ้านของเราให้ดูสะอาดเป็นระเบียบสวยงามมากยิ่งขึ้น มันสามารถปรับแต่งแม้กระทั่งการเว้นวรรคของแท็กใน html5 หรือ body ของเว็บไซต์

ตอนที่ 16 : HTML5 คืออะไร

 
    HTML5 คืออะไร HTML5 ก็คือภาษา html ที่ถูกพัฒนามาเป็นVersion ต่างๆจนมาถึงเวอร์ชั่น5 ซึ่งเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ ทั้งตัวสคริปต์อะไรต่างๆครบ html5 ในวันนี้ผมคิดว่าก็ยังไม่สมบูรณ์แบบเท่าไหร่เนื่องจากวันข้างหน้าก็คงจะมีแท็กใหม่ๆให้เราเรียนรู้เพิ่มเติม จะทำให้ง่ายต่อการออกแบบเว็บไซต์มากขึ้น การเขียน html5 ตอนนี้ถือว่าเริ่มเป็นรูปร่างให้เป็น Plan หน้าเว็บไซต์ มีทั้ง header หรือ footer หรือ aside ทำให้ดูเป็นเว็บไซต์มากขึ้น ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้ใหม่ๆเข้าถึงการเขียนสคริปต์ภาษา html5 ได้ง่ายขึ้น การจัดวางหน้าเว็บเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น

ตอนที่ 15 : แท็กเส้นใต้ HTML

  แท็กขีดเส้นใต้ สำหรับในบทนี้เป็นการเขียนโค้ดทำแท็กขีดเส้นใต้ ง่ายๆเลยครับแท็ก U เป็นแท็กที่ใช้ในการทำขีดเส้นใต้ให้กับตัวอักษร วิธีการเขียน Code แท็กขีดเส้นใต้ดูที่รูปภาพ


ตัวอย่างขอจริง

<u>ขีดเส้นใต้</u>

ขีดเส้นใต้

จะเห็นว่ามีการขีดเส้นใต้แล้ว ทำให้ดูดีขึ้นคนส่วนใหญ่ใช้กับการทำหัวเรื่องหรือต้องการเน้นว่าอันนี้เป็นหัวข้อใหญ่ หรืออาจจะเป็นคำที่ต้องการเน้นให้อ่าน อย่างเช่นคำว่า ไม่ในข้อสอบตอนเรียนนั่นเอง

ตอนที่ 14 : แท็กเอียง HTML

   แท็กตัวอักษรเอียงข้างในบทนี้จะมาสอนใช้แท็กตัวอักษรเอียงข้างนะครับ แท็กเอียงคือแท็กที่ทำให้ตัวอักษรมีลักษณะเอียงไปทางขวา ส่วนใหญ่จะใช้กับพวก คอมเม้นใต้ภาพที่ไม่ต้องการให้เห็นมากนักอาจจะเป็นคำอธิบายเล็กๆน้อยๆ เดี๋ยวผมจะขอยกตัวอย่างการเขียน code ตัวเอียงบนรูปภาพนะคับ


   รูปแบบการแสดงผลก็จะเป็นประมาณนี้

<i>ตัวเอียง</i>

ตัวเอียง

จะเห็นว่ามีความเอียงอยู่เล็กน้อย อย่างที่ผมบอกไปว่าทำให้ตักอักษรที่ไม่ค่อยอยากให้คนอ่านหรือไม่ค่อยสนใจ หรืออาจจะใช้กับการทำให้คนสนใจก็ได้ เดี๋ยวจะยกตัวอย่างแล้วกันคับ

" คนไม่สนใจ "

ทำให้คนสนใจ !!

แค่ปรับเปลี่ยนขนาด ก็จะสามารถบ่งบอกถึงความต้องการได้

ตอนที่ 13 : แท็กตัวหนา HTML

   แท็กตัวอักษรหนาเป็นการทำให้ตัวอักษรดูเด่นชัดขึ้น แท็กตัวหนาเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบส่วนใหญ่ที่ผมเห็นคนใช้จะเห็นคนใช้มากก็จะเป็นหัวข้อใหญ่ๆ หรือตัวหนังสือที่ต้องการเน้นคำให้ชัดเจน แต่ผมคิดว่ามันอ่านยากขึ้นแฮะ อิอิ แต่ไม่เป็นไรคับแล้วแต่คนชอบและวิธีใช้ ดูรูปภาพตัวอย่างการเขียน Code ตัวหนา กันเลยแล้วกันคับ



สำหรับบทนี้และบทต่อๆไปผมต้องขออภัยใช้โปรแกรมอื่น เนื่องจาก Dreamweaver มีปัญหานิดหน่อย แต่ไม่เป็นไรคับ
จากภาพเป็น Code ของแท็กตัวเอียง หรือ แท็ก b นั่นเอง
รูปแบบการเขียน

<b>..ข้อความ..</b>

แสดงผล

..ข้อความ..

จะเห็นว่า ทำให้ตัวอักษรเข้มขึ้นสำหรับในโปรแกรม Word หรือ เขียนบทความตามเว็บไซต์ต่างๆ จะเป็นปุ่ม ตัว แบบนี้ ในบทต่อไปจะเป็นการสอนทำแท็กเอียงข้างแล้วกัน

ตอนที่ 12 : แท็ก h6 โดย HTML5

   แท็ก h6 ผมคิดว่าเป็นแท็กที่เล็กมากมีทำไมไม่รู้ 555+ แท็ก h6 ผมก็เคยเห็นคนใช้อยู่นะ แต่ตัวอักษรเล็กเอามากๆไม่ได้ดังใจเหมือนแท็ก h1 เลย อิอิ ในบทนี้ก็จะมาพูดถึง h6 ก่อนอื่นก็เอารูปตัวอย่างให้ดูก่อนเลยละกัน ในที่นี้จะขอใช้รูปภาพเป็น h1 - h6 เลยแล้วกัน


จะสังเกตว่า h6 มีขนาดที่เล็กมากๆ คนบางคนใช้กับคำอธิบายใต้ภาพ หรือบางก็ก็อาจจะใช้เป็นคำเล็กๆที่ไม่ต้องการให้คนส่วนใหญ่เห็น ผมเขียนอันจริงให้ดูดีกว่าบางทีรูปภาพอาจจะไม่ชัด
..h5..
..h6..
โหวววว เล็กโคตรๆ 555+
ก่อนอื่น! ผมลืมไปว่าผมยังไม่ได้บอก ว่าแท็กตกูล h มันคืออะไร ผมเกือบลืม แท็กตกูล h ได้แก่แท็ก h1-h6 ตัวอักษร h ย่อมาจาก head ที่แปลว่าหัวหรือส่วนหัว อาจจะเป็นหัวเรื่องหรืออะไรพวกนี้

ตอนที่ 11 : แท็ก h5 โดย HTML5

   แท็ก h5 ในแท็ก h5 นี้เป็นแท็กของ html5 ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้ดูสวยงามกว่าปรกติ แต่ทว่าแท็ก h5 นี้ไม่เป็นที่นิยมมากนักในสมัยนี้ เพราะตัวอักษรเล็กและหนาจึงไม่เหมาะสมแก่การเอามาใส่บนหน้าเว็บไซต์ของเรา แต่ก็ยังทีบางส่วนที่ใช้ แท็ก h5 แต่น้อยมาก เค้าใช้ในการทำหัวข้อของตัวเล็กๆ
   ทีนี้จะมาให้ดูการเปรียบเทียบ h1-h5


   การใส่แท็ก Head ไว้บนเว็บไซต์ก็เหมือนกับการเพิ่มสีสันให้กับงานชินโบว์แดงของคุณ มันแฝงทั้งความสวยงามและ Modren ภายในตัวอักษรที่แสนจะธรรมดา

..h4..

..h5..
อันนี้คือการเปรียบเทียบระหว่างแท็ก h4 และ h5 จะเห็นว่ามันเล็กกว่ามากอยู่นะ ตัวอย่างกับมด - -' ต่อไปจะเป็นแท็กสุดท้ายคือ h6 ผมจะทำให้ดูเป็นการเปรียบเทียบตั้งแต่ h1-h6 เลยแล้วกัน

ตอนที่ 10 : แท็ก h4 โดย HTML5

   แท็ก h4 จาก html5 ในบทนี้จะเป็นสอนการใช้งานแท็กใน html5 คือแท็ก h4 ผมลืมบอกไป แท็กh4 เป็นแท็กที่เล็กจากตัวอักษรธรรมดาไม่มากนักแต่มีความหนาอยู่ แท็ก h4 จะไม่ค่อยต่างจาก h3 มากแต่ h4 จะมีขนาดที่เล็กกว่า แท็ก h3 ส่วนสัดส่วนก็เกือบๆใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับหัวข้อย่อยๆ ที่ย่อยลงมาจากหัวข้อใหญ่ สามารถดูตัวอย่างเปรียบเทรียบระหว่าง h1-h4 ได้ที่รูปภาพนี้ครับ



    จากรูปภาพเป็นการแสดงให้เห็นความแตกต่างของ h1-h4 ทีนี้ผมจะเปรียบเทียบ h3 และ h4 ให้ได้เห็นกันชัดๆ

..h3..

..h4..

อันนี้คือ h3 และ h4 จะเห็นว่ามันมีความเล็กและใหญ่ไม่ค่อยต่างกันนัก ในบทต่อไปจะเขียนเกี่ยวกับ h5 และการแสดงผลความแตกต่างแต่ละอันกัน สามารถติดตามได้ในบทต่อไป..

ตอนที่ 9 : แท็ก h3 โดย HTML5

   ในบทนี้จะมาพูดถึง แท็ก h3 ที่จะทำให้ตัวหนังสือดูดีขึ้นกว่าตัวอักษรธรรมดา แท็ก h3 เป็นแท็กที่ใช้เพื่อทำให้ตัวอักษรดูเด่นขึ้นมากกว่าตัวอักษรในการเขียนปกติ ต่อไปจะให้ดูแบบการเขียนเลยละกัน รูปแบบการเขียนก็จะไม่ได้ต่างอะไรจาก การเขียนแท็ก h1 และ การเขียนแท็ก h2 มากนักแค่เปลี่ยนตัวเลขที่สคริปต์ ดูรูปแบบเปรียบเทียบได้ที่รูปภาพเลย

จากรูปภาพด้านบนเป็นการแสดงแท็ก h1, h2 และ h3 เป็นการเปรียบเทียบกัน สำหรับแท็ก h3 นี้เห็นตัวเล็กๆแต่ก็ยังไม่ถือว่าเท่ากับตัวอักษรธรรมดาจะว่าเท่าก็ไม่ได้เพราะใหญ่กว่าต่อไปจะเขียนยกตัวอย่างในนี้ให้ดูกันชัดๆเลยแล้วกัน

h1

h2

h3

ในส่วนนี้ก็คือ แท็ก h1-3 ต่อไปแท็ก h4 สามารถอ่านได้ในบทถัดไป..

อ่านตอนที่ 8                                                                                             อ่านตอนที่ 10

ตอนที่ 8 : แท็ก h2 โดย HTML5

   แท็ก h2 เป็นแท็กที่มีความสำคัญรองลงมาจาก h1 สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า html5 คืออะไร เดี๋ยวผมจะค่อยๆอธิบายในบทต่อไปหลังจาก บท h6 ก็แล้วกันในตอนที่ 8 นี้จะาพูดถึง h2

   h2 คือ  แท็กที่จะทำให้ตัวอักษรใหญ่ขึ้น และมีความหนาแต่ความใหญ่ของตัวอักษรนั้นจะมีความเล็กกว่า h1 แต่ใหญ่กว่า h3 มีความสำคัญรองลงมาจาก h1 ในการทำ seo ให้กับเว็บไซต์ของเรา

วิธีการเขียนแท็ก h2 ก็คร้ายๆกับ h1 ผมจะเขียนเปรียบเทียบกันเลยแล้วกัน


อันนี้คือรูปภาพที่ผมทำไว้เปรียบเทียบระหว่าง h1 และ h2 ผมจะเขียนให้ดูจริงๆในเว็บนี้เลยแล้วกัน



..h1..

..h2..


จะสังเกตเห็นถึงความแตกต่างระหว่าง h1 กับ h2 ส่วน h3 จะเขียนในตอนต่อไปละกันนะคับ

อ่านตอนที่ 7                                                                                             อ่านตอนที่ 9

ตอนที่ 7 : แท็ก h1 โดย HTML5

   แท็ก h1 เป็นคำสั่งของ html5 นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการทำให้ตัวอักษรใหญ่และหนาบนแท็กอันเดียวเขียนสั้นๆ <h1> ซึ่งมีผลมากต่อการทำอันดับกับ google ในปัจจุบัน google ให้ความสำคัญต่อ แท็ก h1 มาก

   ต่อไปผมจะยกตัวอย่างการเขียนแท็ก h1 ของ html5 เป็นตัวอย่าง สำหรับวิธีการเขียนก็ไม่ได้ยุ่งยากมาก

   มันเป็นการทำให้ตัวอักษรแสดงผลเป็น ใหญ่+หนา ซึ่ง วิธีใช้ htm5 ของแท็ก h1 ก็ไม่ได้ยุ่งยากมาก มีรูปแบบดังนี้

<h1> .. </h1>

<h1>    //เปิดแท็ก h1
..          //ข้อความที่จะใส่ลงไปอาจจะเป็นหัวข้อหรืออะไรก็ตามที่ต้องการให้ใหญ่ + หนา
</h1>  //ปิดแท็ก h1


ตัวอย่าง

สวัสดีแท็ก h1 จาก html5


รูปแบบ Code จะเป็นดังนี้

<h1> สวัสดีแท็ก h1 จาก html5 </h1>

อันนี้ก็คือตัวอย่างเล็กๆน้อยๆนะคับ
ซึ่ง h1 มีทั้งหมด 6 แท็ก สามารถอ่านต่อได้ในตอนต่อไป..


อ่านตอนที่ 6                                                                                             อ่านตอนที่ 8

ตอนที่ 6 : สรุป HTML จากทั้ง 5 ตอนที่ผ่านมา

ตอนที่ 6 : สรุป HTML

ตอนนี้คือ ตอนที่ 5 จะมาสรุปโค้ด html จากที่ได้ศึกษาไปทั้ง 5 บทที่ได้เขียนไป
ตัวอย่าง



<html>
<head>
<meta charset=UTF-8" />       //Set ตัวอักษร ไทย
<title>PGM CSS</title>   // ใส่ Title ให้กับเว็บ
<meta name="description" content="สอนเขียนภาษา HTML และ CSS ฟรีต้องที่นี่ PGM CSS" > //คำอธิบายเว็บไซต์
</head>
<body>

<!-- HELLO -->    //แท็กคำอธิบายสคริปต์
..
..
</body>
</html>

สรุปใน 1-5 ตอนที่ ผ่านมา เราได้เรียนรู้การทำให้หน้าเว็บเป็นภาษาไทย การใส่ Title การใส่ Description และ การเขียนคำอธิบายของสคริตป์
ผมคิดว่าพวกท่านคงจะได้ความรู้ติดตัวไปไม่มากก็น้อย ช่วยกด +1 ของ google ที่ด้านขวาเพื่อแทนคำขอบคุณด้วยคับ ขอบคุณคับ

อ่านตอนที่ 5                                                                                              อ่านตอนที่ 7





ตอนที่ 5 : แท๊กคำอธิบาย HTML

ตอนที่ 5 : HTML

สำหรับตอนนี้ จะมาสอนวิธีการเขียนคำอธิบายด้วยแท๊กคำอธิบาย สำหรับคำสั่ง html ในการอธิบายก็คือ

<!-- ... -->

ประกอบด้วย <!--  เป็นตัวเปิด
และปิดด้วย -->

ตัวอย่าง
<!-- แท๊กคำอธิบายภายในสคริปต์ -->

การใช้งานจริง

<html>
<body>

<!-- แท๊กคำอธิบายภายในสคริปต์ -->

</body>
</html>
ดูภาพ


ในส่วนนี้ คำว่า " แท๊กคำอธิบายภายในสคริปต์ " จะไม่ถูกแสดงผลบนเว็บไซต์ คือจะไม่เห็นอะไรเลย อันนี้ก็คือ แท๊กคำอธิบายภายในสคริปต์ สำหรับแต่ละภาษาก็มีวิธีการเขียนคำอธิบายที่ต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น ภาษา PHP มันก็จะมี 2 แบบในการเขียนคำอธิบาย ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ในบทต่อๆไปครับ


อ่านตอนที่ 4                                                                                              อ่านตอนที่ 6

ตอนที่ 4 : การใส่ Description ให้กับเว็บไซต์ HTML

ตอนที่ 4 : HTML

ในตอนที่ 3 นี้จะเป็นการใส่ Description ให้กับเว็บไซต์ของเราเอง
การใส่ Description มีความสำคัญคือการอธิบายรายละเอียดของเว็บไซต์ของเราให้ google และคนทั่วไปได้รู้ว่า เว็บไซต์ของเรานั้นเกี่ยวกับอะไร ถ้าคนอ่านแล้วสนใจจึงจะคลิกเข้ามาที่หน้าเว็บของเรา
มันคือ การอธิบายเว็บไซต์ของเรา เพื่อให้ Google ได้จัดหมวดหมู่ได้ถูก มีผลต่ออันดับใน Google

Code หรือ แท๊ก เขียนได้ดังนี้



<meta name="description" content=" ... ">

จะใส่ไว้ใน content=" "
ในส่วนนี้จะใส่ไว้ในแท๊ก <head>..</head>
เพื่อเขียนอธิบายให้กับเว็บไซต์ของเรา
ตอนนี้ผมจะอธิบายทีละส่วนให้เข้าใจ
<meta>   //แท๊ก Meta (เมต้า) เป็นคำสั่งของ HTML ที่ใช้ใน แท๊ก <head>
name=" "    //คือตัวแปรที่สื่อถึงว่าแท๊กนี้เป็นการ อธิบาย(description) หรือ แท๊กนี้เป็นของ keyword
ส่วน content=" "  // content แปลประมาณว่า องค์ประกอบหรือเนื้อหา เพื่อใส่ในตัวแปรของ name ที่ได้เก็บค่าไว้ใน Name



อ่านตอนที่ 3                                                                                               อ่านตอนที่ 5

ตอนที่ 3 : ใส่ Title ให้กับเว็บไซต์ HTML

ตอนที่ 3 : HTML

ในบทนี้จะเป็นการใส่ Title ให้กับเว็บไซต์ วิธีการเขียน Title ให้กับเว็บไซต์

    การใส่ Title เป็นสิ่งที่สำคัญมากเปรียบเสมือนชื่อหรือเว็บไซต์เลยก็ว่าได้
ผมยกตัวอย่างของ Facebook


อันนี้เป็นของ Facebook โดยที่จะแสดงผลบนเมนูด้านบนตรงนั้น
คือการใส่ Title ถ้าทำบน Dreamweaver ก็จะใส่มาให้อยู่แล้ว
คือ บรรทัดนี้

<title>Untitled Document</title>

การใส่ Title ให้กับเว็บไซต์ประกอบไปด้วย

<title> </title>

ใส่ชื่อเว็บตรงกลาง ตัวอย่างเช่น

<title>Hello Title</title>

ใส่ในแท๊ก <HEAD> .. </HEAD>
จะได้การแสดงผลเป็น


ในส่วนของ Logo ด้านซ้ายจะสอนวิธีการใส่ในบทต่อๆไป

อ่านตอนที่ 2                                                                                               อ่านตอนที่ 4

ตอนที่ 2 : ทำให้หน้าเว็บเป็นภาษาไทย HTML

ตอนที่ 2 : HTML

ตอนนี้ก็จะมาพูดถึง Code HTML ที่สำคัญในการเขียน HTML เพื่อการแสดงผลของคนไทย


แน่นอนว่าก่อนเราพิมพ์อะไรเราก็ต้องเลือกภาษาก่อนจึงจะสามารถพิมพ์ได้
Code ภาษาไทย คือ
การใส่ Tag ภาษาไทย

<meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=UTF-8" />

Code นี้จะใส่ไว้ใน แท๊ก <head>
ตัวอย่าง

<head>
<meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=UTF-8" />
</head>

อันนี้คือ การทำให้ หน้าเว็บไซต์เป็นภาษาไทย
ปรับตรง chaset (charactor set) = UTF-8 (ยูทีเอฟลบแปด)
สามารหาดูภาษาในคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลได้โดยค้นหาใน google
คือเปลี่ยนตรง UTF-8       UTF-8 จะเป็นภาษาไทย

อ่านตอนที่ 1                                                                                                 อ่านตอนที่ 3

ตอนที่ 1 : แท๊กต่างๆบน HTML

ตอนที่ 1 : HTML

ตอนนี้จะมาพูดถึงการเขียน HTML แบบพื้นฐานก่อนเลยละกัน
การเขียน HTML คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บไซต์ สามารถเขียนได้หลายโปรแกรม
ได้แก่ Note pad, EditPlus, Dreamweaver และโปรแกรมอื่นๆอีกมากมาย

ในทีนี้จะใช้เป็นโปรแกรม Dreamweaver สำหรับมือใหม่
เพื่อที่จะได้ดู Code ไปด้วย และดูหน้าต่างการแสดงผลไปด้วย


ในรูปภาพจะเป็นหน้าต่างที่สร้างใหม่นะคับ เลือกด้านนซ้าย แบบหน้าจอให้เป็น Split
คือเห็นทั้ง 2 ฝั่งแบบ Design และ Code ด้วย
ตอนนี้จะอธิบาย Code แต่ละบรรทัดให้เข้าใจเลยละกัน
การทำงานจะเขียน Code ในฝั่งแบบด้านซ้าย

ส่วนแรก

<!DOCTYPE html PUBLIC "-//W3C//DTD XHTML 1.0 Transitional//EN" "http://www.w3.org/TR/xhtml1/DTD/xhtml1-transitional.dtd">
<html xmlns="http://www.w3.org/1999/xhtml">

ส่วนนี้ ไม่จำเป็นต้องรู้ มันเป็นของ Dreamweaver
ถ้าใครสร้างบน NotePad ไม่จำเป็นต้องเขียนก็ได้
Code HTML ประกอบด้วย

<html>         //เปิดแท๊ก HTML เพื่อให้ตัวโปรแกรมรู้ว่าเป็นภาษา HTML
<head>        //เปิดแท๊ก HEAD เป็นการทำคำสั่งภายในจะไม่แสดงบนหน้าเว็บ

</head>       //ปิดแท๊ก HEAD
<body>       //เปิดแท๊ก BODY อันนี้เมื่อเขียน CODE อะไรจะแสดงบนหน้าเว็บไซต์

</body>      //ปิดแท๊ก BODY
</html>       //เปิดแท๊ก HTML

จะสังเกตุว่าทุกครั้งที่มีการเปิดแท๊กจะต้องมีการปิดทุกครั้ง เช่น
<html> </html>

PGM. ขับเคลื่อนโดย Blogger.